การดูแลสุนัขขั้นพื้นฐาน


การอาบน้ำ
โดยปกติควรอาบน้ำให้สุนัข อาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ แต่ถ้าสกปรกมากก็อาจจะอาบได้มากกว่านั้น แต่ถ้าอาบน้ำบ่อยเกินไปจะทำให้ผิวหนัง และขนแห้งเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิด ปัญหาโรคผิวหนัง ตามมาได้ ควรใช้แชมพูสำหรับสุนัขในการอาบน้ำ ซึ่งควรจะเลือกตาม ลักษณะขนของสุนัข ไม่ ควรใช้สบู่ของคนในการอาบ อาจจะทำให้ผิวหนังแห้งเกินไปได้ ควรเลือกอาบในวันที่อากาศสบาย อาบในที่โล่ง ควรทำให้สุนัข เปียกก่อน แต่อย่าให้น้ำเข้าหู แล้วค่อยใส่แชมพู ถ้ามีส่วน ผสมของยากำจัดเห็บหมัด ให้ฟอกทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วค่อยล้างออก ถ้ามีการใช้น้ำยากำจัดเห็บหมัด ก็ควรทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หลังจากนั้นเช็ดตัวสุนัขให้แห้งแล้วทิ้งไว้ให้แห้งเอง ต้องระวังสุนัขจะไปนอน เกลือกกลิ้งบนพื้นอีกจะทำ ให้ตัวเค้าสกปรกอีก


การดูแลสุขภาพภายในช่องปาก
สัตวแพทย์สามารถจัดยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับสุนัขให้ได้ และไม่ควรใช้ยาสีฟันสำหรับคนกับสุนัข
 1.ควรตรวจสุขภาพฟันและเพื่อให้แน่ใจว่าสุนัขไม่มีปัญหาเหงือกอักเสบหรือคราบหินปูนเกาะฟันซึ่งเป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบ
 2.แปรงฟันให้สุนัขอย่างนิ่มนวล ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม อาจใช้น้ำเกลือเจือจางหรือยาสีฟันสำหรับสุนัข


การตัดเล็บ
การตัดเล็บจะต้องไม่ตัดให้ลึกถึงบริเวณที่เห็นเป็น สีชมพูเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก เรียกว่า เนลเบด (nail bed) หรือ ควิก (quick) ถ้าไม่แน่ใจควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ตัดเล็บให้แก่สุนัข
1.จับนิ้วสุนัขให้แยกจากกัน และตรวจดูระหว่างนิ้ว เช็ดสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วด้วยสำลีชุบน้ำ
2.ตัดเล็บด้วยความระมัดระวัง ตะไบปลายเล็บให้เรียบร้อย ถ้าสุนัขตัวนั้นมีนิ้วติ่งให้ตัดเล็บที่นิ้วติ่งออกไปด้วย

8 สัญญาณ ที่น้องหมาป่วย

      1. จมูกแห้งไม่ชุ่มชื้น หายใจลำบาก
      2. ขี้ตาเกรอะกรัง ตาขุ่นมัว ตาสองข้างมีขนาดไม่สมดุลกัน
      3. หูเหม็น ขี้หูเกรอะกรัง สะบัดหัวบ่อยๆ
      4. ปากเหม็น หินปูนเกาะ เหงือกบวมแดง ฟันผุ ฟันหัก
      5. มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระลำบาก
      6. ปัสสาวะบ่อยเกินไป มีเลือดปนในปัสสาวะ
      7. ขนร่วง มีตุ่มหนองตามผิวหนัง ขนแห้งหยาบกระด้าง
      8. เดินผิดปกติ ขาไม่สมดุล ทรงตัวไม่ได้



 
การให้ยากับน้องหมา
ห้ามให้ยา ของคนให้หมากินโดยเด็ดขาด โดยไม่รู้ปริมาณ !!!!
ปัจจุบันมียามากมายให้เลือกมากมายให้เลือกใช้บำบัด โรคต่างๆ ของสุนัข ยาสำหรับให้ทางปากส่วนมากจะให้โดยการกินจึงต้องให้โดยการป้อนยาสุนัข โดยมีวิธีการดังนี้
การให้ยาเม็ด
       1.ป้อนโดยตรง
       - สั่งให้สุนัขนั่งลง แล้วใช้มืออ้าปากสุนัข
       - วางยาเม็ดลงบนลิ้น (บริเวณโคนลิ้น) ให้ลึกที่สุดเท่าที่ทำได้
       - ใช้มือข้างหนึ่งปิดปากสุนัขไว้ จับหน้าสุนัขให้แหงนขึ้นเล็กน้อย
       - ใช้มืออีกข้างลูบลำคอลงด้านล่าง จนกระทั่งสุนัขแลบลิ้นออกมาเลีย
          จมูกและริมฝีปากแสดงว่าสุนัขได้ กลืนยานั้นเรียบร้อยแล้ว
      2.ซ่อนยาในเม็ดอาหาร
       - ซ่อนยาในอาหารที่สุนัขชอบกิน โดยเตรียมเป็นชิ้นพอคำแล้วป้อนให้
       - แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนว่าอาหารชนิดใดบ้างที่ไม่ควรให้สุนัข
         กินร่วมกับยา
การให้ยาน้ำ
       - โดยบดยาเม็ดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำเชื่อม
       - นำบรรจุในกระบอกฉีดยา
       - ฉีดเข้าปากสุนัขที่กระพุ้งแก้มช้าๆ ให้สุนัขค่อยๆ กลืน